องค์ประกอบของการ โน้มน้าวใจ

โน้วน้าวใจ,น้ำกระเพื่อม

ไม่ว่าคุณจะเป็นใครบนโลกใบนี้ เมื่อคุณได้เติบโตขึ้นจนได้รู้จักกับคำว่า “ภาษา” การสื่อสารกับบุคคลอื่นก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเมื่อมีสิ่งที่คุณต้องการให้บุคคลอื่นทำอะไรบางอย่างให้กับคุณ เพราะว่าคุณไม่สามารถทำมันได้ หรือทำได้แต่ไม่อยากทำ การ โน้มน้าวใจ โดยใช้ภาษาจึงเกิดขึ้นอีกเช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้ ผมจึงอยากนำเสนอ องค์ประกอบสำคัญที่ต้องมีในการ โน้มน้าว ของคุณในครั้งต่อไป เพราะองค์ประกอบเหล่านี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการโน้มน้าวใจของคุณให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน ในทุกๆครั้ง องค์ประกอบที่ 1 : ต้องเป็นเรื่องจริง เคยสังเกตุตัวคุณเองเวลาคุณพูดความจริง กับพูดเรื่องโกหกบ้างไหมครับ ความจริงเวลาที่คุณสื่อสารออกไป มันไม่ได้ออกไปเพียงแค่คำพูดเพียงอย่างเดียว แต่ยังออกในสีหน้า ท่าทางของคุณในระหว่างที่คุณกำลังสนทนาอีกด้วย และเมื่อคุณสื่อสารเรื่องโกหกหรือเรื่องเท็จ มันก็จะออกมาทั้งคำพูด และสีหน้า ท่าทางของคุณเช่นกัน จนทำให้คู่สนทนาของคุณเกิดความสงสัยแคลงใจ พูดง่ายๆก็คือดูมีพิรุธ นั้นเองครับ องค์ประกอบที่ 2 : คลุมเรื่องที่ต้องการจะสื่อด้วยอารมณ์และความรู้สึก คุณเคยพบเจอกลุ่มคนที่ท่าทางการพูดดูเบื่อโลก หรือเคยเจอคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความกระตือรือร้น กระชับกระเชง เสียงดังฟังชัดบางไหมครับ ในทางครั้ง ภาษาที่สื่อออกไปถึงแม้จะเป็นคำพูดเดียวกัน แต่เมื่อคนสองกลุ่มนี้พูดสิ่งที่ผู้ฟังสัมผัสได้นั้น ผลลัพธ์ต่างกันอย่างมากมายเชียวทีเดียวครับ องค์ประกอบที่ 3 : สารที่สื่อออกไปต้องทำให้เกิดการลงมือทำบางอย่าง เราต้องเน้นคำพูดบางคำพูดให้ชัดเพื่อให้มีการลงมือทำบางสิ่งบางอย่าง(อาจถึงขั้นต้องมีการชี้นำอย่างชัดเจน) เพราะถ้าสารที่สื่ออกไปไม่สามารถนำไปสู่การลงมือทำอะไรบางสิ่งบางอย่าง การโน้มน้าว นั้นก็จะล้มเหลวแน่นอนครับ องค์ประกอบที่ […]

ไว้ค่อย ทำพรุ่งนี้ แล้วกัน

สาบาน,ผลัดวัน,ทำพรุ่งนี้

ทุกวันนี้คนเราชอบวางแผนยากๆ แต่ไม่ยอมลงมือทำเสียที โดยเอาแต่คิดว่า “ไว้ค่อยทำพรุ่งนี้แล้วกัน” พร้อมทั้งสาบานกับตัวเองว่าวันรุ่งขึ้นจะทำตามแผนการนั้น งานวิจัยของปีเตอร์ กอลล์วิตเซอร์ และเพื่อนร่วมงานแสดงให้เห็นว่าการสาบานมักไม่ได้ผล ถึงแม้จะเป็นการสาบานอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะก็ตาม เมื่อวันรุ่งขึ้นมาถึง คนเหล่านั้นก็ยังไม่ลงมือทำอะไรอยู่ดี ถ้าอยากลงมือทำตามแผนการบางอย่าง เราต้องวางแผนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น “พรุ่งนี้ระหว่างพัก ฉันจะชงกาแฟซักแก้ว ปิดห้องทำงานแล้วโทรหาสถาบันแห่งนั้น” “ในเช้าวันพุธหลังจากที่ตื่นนอนและทำงานเสร็จ ฉันจะลงที่โต๊ะและเริ่มเขียนรายงาน” ผมอยากให้คุณลองนึกถึงสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ต้องเรียนรู้ หรือปัญหาที่ต้องเผชิญ และลองเขียนแผนการที่เป็นรูปธรรมออกมา โดยระบุว่าคุณจะทำตามแผนนั้นเมื่อไหร จะทำมันที่ไหน และจะทำมันอย่างไร คุณต้องนึกถึงแผนการดังกล่าวแบบลงระเอียดชัดเจน แผนการที่เป็นรูปธรรมเหล่านี้จะทำให้คุณนึกภาพออก การใส่ข้อมูลลงไปว่า คุณจะทำอะไรบางอย่างเมื่อไหร่ ที่ไหนและอย่างไรทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่คุณจะทำตามแผนการนั้น และแน่นอนว่านั่นหมายถึง คุณมีโอกาสมากขึ้นที่จะประสบความสำเร็จ

ความแตกต่างของบริษัทที่น่าทำงานด้วย และไม่น่าทำงานด้วย

ทำงาน,น่าทำงาน

ในบริษัทที่ดี ผู้คนจะสามารถจดจ่ออยู่กับงานของตัวเอง และมั่นใจว่า ถ้าพวกเขาทำงานของตัวเองได้ดี ก็จะเกิดผลดีต่อทั้งบริษัทและตัวพวกเขาเอง พวกเค้าจะรู้สึกมีความสุขกับการมาทำงาน ทุกคนจะตื่นเช้ามาโดยตระหนักว่างานที่พวกเขาทำนั้นจะมีประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ รวมถึงสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรและตัวพวกเขาเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้งานของพวกเขาน่าตื่นเต้นและน่าพึงพอใจ ในทางกลับกัน คนที่ทำงานในบริษัทที่แย่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสู้กับข้อจำกัดในองค์กร ผู้มีอำนาจ และกระบวนการที่มีปัญหา พวกเขาไม่รู้แน่ชัดด้วยว่างานของพวกเขาคืออะไร พวกเขาเลยไม่มีทางรู้เลยว่างานของพวกเขานั้นเสร็จรึยัง หากพวกเขาโชคดีพอทำงานสำเร็จที่เป็นผลจากการทุ่มเททำงานอย่างหนัก พวกเขาก็ไม่รู้อยู่ดีว่าผลของการทุ่มเทนั้น มีความหมายต่อบริษัทหรืออาชีพการทำงานของพวกเขาอย่างไร